นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้สถาบันการเงิน อยู่ระหว่างทยอยทำมาตรการ เช่น การยืนยันตัวตนด้วย Biometric ผ่านการใช้ใบหน้า Face Recognition ในการทำธุรกรรมโอนเงินเกิน 5 หมื่นบาทต่อครั้ง หรือเกิน 2 แสนบาทต่อวัน ซึ่งมาตรการดังกล่าว จะเห็นว่าทุกธนาคารไม่ได้มีฐานข้อมูลใบหน้าลูกค้าทั้งหมด เช่น บางธนาคารเก็บได้มากกว่า 50% หรือบางธนาคารเก็บได้ไม่ถึงดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับฐานข้อมูล เพราะการเก็บข้อมูล biometric เพิ่งเริ่มใช้มาในช่วง 2 ปี และไม่ได้เป็นการบังคับอีกทั้งยังมีเรื่องกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่ต้องปฏิบัติ จึงทำให้การเก็บข้อมูลยังทำไม่ได้มากนัก แต่หลังจากนี้ลูกค้าสามารถเข้าไปยืนยันตัวตนกับสถาบันการเงินได้
นอกจากนี้ ธปท. ได้ประสานงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อดูแลความเสี่ยงจากการทุจริตที่เกี่ยวกับบัญชีม้า ที่มีการโอนเงินผ่านสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่น คริปโทเคอร์เรนซี โดยขณะนี้ ทั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส), ธปท. และ ก.ล.ต. ได้หารือร่วมกันเพื่อดูแนวทางในการป้องกันต่อไป
ทั้งนี้ ธปท. ได้จัดทำชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อรับมือกับภัยหลอกลวงจากมิจฉาชีพในหลายรูปแบบ ซึ่งหนึ่งในชุดมาตรการป้องกัน เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้นนั้น ธปท. ได้กำหนดให้ลูกค้ำธนาคารที่ต้องการโอนเงินผ่าน mobile banking มากกว่า 50,000 บาท/ครั้ง จะต้องมีการยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า โดยให้ธนาคารที่มีความพร้อมเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่มีนาคม 2566 และให้ธนาคารทุกแห่งต้องดำเนินมาตรการนี้ให้แล้วเสร็จภายในมิถุนายน 2566
หมายเหตุ: เทคโนโยลีแสกนใบหน้า (Face scan) ถูกพัฒนาเพื่อสนับสนุนการยืนยันตัวตนด้านความปลอดภัยมีความแม่นยำสูง ไร้การสัมผัส และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มีการใช้งานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Cr: thebangkokinsight.com/news/stock-finance/finance/1062170