Machine-Learning คืออะไร
Machine Learning คือ ส่วนการเรียนรู้ของเครื่อง ถูกใช้งานเสมือนเป็นสมองของ AI (Artificial Intelligence) เราอาจพูดได้ว่า AI ใช้ Machine Learning ในการสร้างความฉลาด มักจะใช้เรียกโมเดลที่เกิดจากการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ ไม่ได้เกิดจากการเขียนโดยใช้มนุษย์ มนุษย์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมให้ AI (เครื่อง) เรียนรู้จากข้อมูลเท่านั้น ที่เหลือเครื่องจัดการเอง
Machine Learning เรียนรู้จากสิ่งที่เราส่งเข้าไปกระตุ้น แล้วจดจำเอาไว้เป็นมันสมอง ส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลข หรือ code ที่ส่งต่อไปแสดงผล หรือให้เจ้าตัว AI นำไปแสดงการกระทำ Machine Learning เองสามารถเอาไปใช้งานได้หลายรูปแบบ ต้องอาศัยกลไกที่เป็นโปรแกรม หรือเรียกว่า Algorithm ที่มีหลากหลายแบบ โดยมี Data Scientist เป็นผู้ออกแบบ หนึ่งใน Algorithm ที่ได้รับความนิยมสูง คือ Deep Learning ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย และประยุกต์ใช้ได้หลายลักษณะงาน อย่างไรก็ตาม ในการทำงานจริง Data Scientist จำเป็นต้องออกแบบตัวแปรต่างๆ ทั้งในตัวของ Deep Learning เอง และต้องหา Algorithm อื่นๆ มาเป็นคู่เปรียบเทียบ เพื่อมองหา Algorithm ที่เหมาะสมที่สุดในการใช้งานจริง
Machine Learning ในชีวิตประจำวัน
บอกได้เลยว่าเจ้า Machine Learning อยู่ในชีวิตประจำวันของเราอย่างแนบเนียนมากๆ เราเชื่อว่าหากเอ่ยถึงเรื่องราวต่อไปนี้คุณจะต้องร้องอ๋อแน่ๆ
Apple Siri ที่มี Speech Recognition หรือการฟังเสียงและถอดความ
Machine Learning นี้ทำให้เกิด NLP (Natural Language Processing) ชื่อในภาษาไทยคือการประมวลผลภาษาธรรมชาติ โดยปกติแล้วมนุษย์มีการใช้ภาษาที่กำกวม แต่คอมพิวเตอร์ใช้ภาษาที่มีลักษณะแน่นอนในการสื่อสาร จึงทำให้มีความยากในการประมวลผล ซึ่ง NLP ก็มีหลายแขนง ใช้การเขียนโปรแกรมแบบใช้เงื่อนไขมาประมวลผลภาษา แต่ด้วยความเป็นไปของภาษาที่เร็วมาก คำใหม่หรือรูปแบบประโยคใหม่ ๆ เกิดขึ้นเร็วมาก การนำ Machine Learning มาช่วยในปัจจุบันจึงทำให้ NLP แม่นยำขึ้นและตามทันโลกได้ไวขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้นำมาใช้ใน Siri
Face ID ของ Apple ที่เราสงสัยกันว่าเราเปลี่ยนลุคหรือเมคอัพแล้ว มันยังจะเวิร์คอยู่หรือไม่
นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งในการใช้ Machine Learning เพราะว่า Apple จะใช้วิธียิงจุดอินฟราเรดออกไป และใช้การตรวจสอบรูปของหน้า และแม้ว่าหน้าตาจะเปลี่ยนไปเล็กน้อย เปลี่ยนทรงผม ใส่แว่น Face ID ก็ยังคงสามารถตรวจสอบได้ และถึงจะใช้หน้ากากก็ไม่รอด Face ID เพราะว่า Apple ใช้ Machine Learning เรียนรู้รูปแบบหน้าที่แตกต่างกันมาเยอะมาก และสร้างโมเดลให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้
Google Assistant ที่สามารถรับคำสั่งด้วยเสียง
อีกหนึ่งนวัตกรรมที่ Machine Learning ได้เข้ามามีส่วนพัฒนาความสามารถเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังคำสั่งด้วยเสียงที่แม่นยำมากขึ้น
สามารถรองรับได้หลายสำเนียงพูด
ข้อเสนอที่แฝงตัวบน YouTube
Google ใช้ Machine Learning ในการประมวลข้อมูลไปกับบริการอื่นของบริษัท เช่น บริการแนะนำวิดีโอที่ผู้ใช้งานอาจจะชอบ หรือ วิดีโอที่คุณดูแล้วบน YouTube ซึ่งเหล่านี้ระบบเรียนรู้จากพฤติกรรมการรับชมของเรา
การแนะนำหนังที่เราน่าจะสนใจโดย Netflix
การค้นหาและเชื่อมโยงคอนเทนต์ที่แต่ละคนน่าจะถูกใจที่เกิดขึ้นจาก Machine Learning นั่นคือสิ่งที่ Netflix ทำเพื่อพยายามชักจูงให้เราตัดสินใจชมคอนเทนต์นั้นให้ได้ โดยเฉพาะกับเนื้อเรื่องที่เราอาจไม่ค่อยคุ้น โดยนำเสนอด้วยภาพกราฟิกที่เหมาะกับแต่ละคน เช่น ภาพฉากการกระทำของตัวละครที่น่าจะตรงใจเรามากขึ้น, ภาพนักแสดงที่เราน่าจะคุ้นเคย เป็นต้น
เหล่านี้ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจาก Machine Learning ทั้งสิ้น กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็รุกคืบมาแบบไม่ให้เรารู้เนื้อรู้ตัว ทีนี้พอเราเริ่มมีประสบการณ์ในการใช้งานโดยตรงแล้ว เห็นได้ว่ามันจะถูกพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะการให้บริการผ่านแอปพลิเคชันผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆนั้น มีมาให้ได้ใช้กันอยู่เรื่อยๆ เรียกว่าอัพเดทกันตลอด เพื่อให้ถูกมือถูกใจของเรามากขึ้น
Baidu ยักษ์ใหญ่จากจีนเน้นพัฒนา AI และ Machine Learning ให้สอดคล้องกับชีวิตของผู้คนในปัจจุบันมากขึ้น
เนื่องจากรัฐบาลจีนมีการจำกัดการเข้าใช้งานของอินเตอร์เน็ตและเว็ปไซต์ต่างๆ เช่น Facebook Google Line ฯลฯ ฉะนั้นก่อนหน้านี้ผู้ที่เริ่มต้น Search Engine ก่อนจึงเป็นผู้ได้เปรียบ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ Baidu ผู้ช่วยค้นหาข้อมูลที่เป็นที่นิยมที่สุดในประเทศจีน ได้เปิดเว็ปไซต์เพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูล โดยมี Andrew Ng อดีตผู้อำนวยการ AI Lab ของมหาวิทยาลัย Stanford ในสหรัฐอเมริกา และผู้ก่อตั้งทีมผู้คิดค้น Google Brain ทั้งยังเคยเป็นหัวหน้าทีม Baidu Research ซึ่งเป็นทีมหลักที่เน้นการพัฒนา Machine Learning และใช้ AI เข้ามาใช้งานในหลายๆด้าน เราลองมาดูกันว่า Baidu ทำอะไรบ้างแล้วกับการพัฒนา เพื่อสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ถือเป็นอีกบริษัทยักษ์ใหญ่อีกบริษัทของโลกที่น่าจับตามองมากๆ ไม่แพ้ฝั่งตะวันตกเลยทีเดียว
Search Engine
บริการหลักที่ Search Engine ถูกใช้งานในประเทศจีนมากถึง 75% ได้นำเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า การจดจำเสียง และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ มาช่วยให้ผลลัพธ์ในการค้นหาสิ่งต่างๆมีประสิทธิภาพมากขึ้น และตอบโจทย์พฤติกรรมส่วนบุคคลได้มากขึ้น
Open Source
มีการพัฒนา Machine Learning อย่างต่อเนื่องและได้มีการเผยแพร่ผลงานการวิจัย รวมถึงโปรเจคต่างๆให้กับบุคคลทั่วไปได้รับทราบข่าวและผลงาน ซึ่งถือเป็นบริการพื้นฐานของ Open Source เราสามารถติดตามข้อมูลได้จาก http://research.baidu.com/baidu-tech-blog/
Augmented Reality
เกิดการนำเทคโนโลยี Machine Learning มาใช้ร่วมกับ AR เช่น การริเริ่มโครงการบูรณะประตูเมือง สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในกรุงปักกิ่ง เทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้คนสามารถมองเห็นความสมบูรณ์ของสถานที่นี้ก่อนที่จะเกิดการเสื่อมโทรมไปตามยุคสมัย และจะมีโครงการจัดทำสำหรับโบราณสถานต่างๆต่อไป
Health Care
เกิดโปรเจค Baidu Doctor โดยการใช้ระบบประมวลหรือชุดข้อมูลที่เรียกว่า Deep Learning ที่ Machine Learning ใช้ในการทำงาน ทำให้สามารถสนทนาโต้ตอบกับผู้ป่วยและช่วยวินิจฉัยโรคได้เทียบเท่ากับแพทย์ ซ้ำยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยและให้คำปรึกษาแพทย์ได้อีกด้วย
Smart Home
Xiaoyu Zaika หรือเจ้าปลาน้อย ที่ถือเป็นคู่แข่งของ Amazon Alexa ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้านด้วยคำสั่งเสียง เครื่องนี้แตกต่างกันตรงที่สามารถหันหัวเพื่อรับคำสั่งเสียงได้ แถมผู้ใช้ยังสามารถส่งเสียงสั่งซื้อสินค้าบนออนไลน์ผ่านเจ้าปลาน้อยได้อีกต่างหาก
รถยนต์ไร้คนขับ
หาก Tesla เป็นตัวแทนรถยนต์ไร้คนขับของตะวันตก Baidu ตัวแทนฝั่งตะวันออกเองก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีไร้คนขับด้วยเช่นกัน และมีการคาดการณ์อีกด้วยว่าจะมีการเริ่มการผลิตรถยนต์ชนิดนี้จำนวนมากในปี 2021 ซึ่งการทดสอบเทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นในจีนและอเมริกาแล้ว