ปัจจุบันจากสถาณการณ์ในโควิดที่คลี่คลายมากขึ้นประกอบกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำให้มูลค่าการค้าออนไลน์ e-Commerce ขยับขึ้นอีกครั้ง ในขณะเดียวกันสงคราม e-marketplace ดูท่ากำลังจะจบลง ส่วนสินค้าจีนกำลังบุกไทยเต็มรูปแบบทั้งการวางโครงสร้างพิ้นฐานให้ครบวงจรมากขึ้น On demand commerce การแข่งขันการค้าลักษณะ Platform จัดส่งอาหาร หรือ Food Delivery จะเริ่มเปลี่ยนตัวเองให้เป็นบริการที่มากกว่าเรื่องอาหาร Digital Financial Services (DFS)คือ บริการการเงินทางออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น โดยผู้ให้บริการเหล่านี้อาจจะไม่ใช่ธนาคาร (Non bank) คลิปสั้นในแพลทฟอร์มต่างๆ ก็ตอบสนองต่อการชมมากขึ้น โฆษณาออนไลน์ที่มีทางเลือกมากขึ้น
Martech เป็นคำย่อของคำว่า Marketing Technology ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการช่วยสนับสนุนการตลาดและการขายสินค้าหรือบริการ โดยการผสมผสานระหว่างการตลาดและเทคโนโลยีให้เข้ากันได้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคปัจจุบันเนื่องจากต้องการตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจและการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต้องการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินกิจการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลตอบแทนในการตลาดและการขาย เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Martech มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นโซลูชันซอฟต์แวร์ (Software as a Service: SaaS) ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดออนไลน์ เช่น Customer Relationship Management (CRM), Content Management System (CMS), Email Marketing, Social Media Management และ Search Engine Optimization (SEO) รวมไปถึงเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics Tools) เพื่อติดตามและวิเคราะห์ผลการตลาดให้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่ง MarTech นั้นเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดและเพิ่มประสิทธิภาพของการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จากการสำรวจข้อมูลทั่วโลกจาก chiefmartec ในเดือนพฤษภาคม 2023 พบว่ามี 11,038 โซลูชั่นที่เกี่ยวข้องด้าน Martech
E-commerce (อีคอมเมิร์ซ) หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยไม่ต้องมีการพบหน้ากันของผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรง ซึ่งในการทำธุรกรรม E-commerce นั้น จะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเช่นเว็บไซต์, อีเมล, แชท, โซเชียลมีเดียและอื่นๆ เพื่อทำการสั่งซื้อสินค้า ชำระเงิน และรับสินค้าผ่านทางไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่ง ซึ่งเป็นการซื้อขายที่สะดวกสบายและมีความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งานอย่างมากในปัจจุบัน วงการ E-commerce เกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว โดยเริ่มต้นด้วยการใช้โทรศัพท์และแฟกซ์ในการทำธุรกรรมซื้อขาย ต่อมาในปี 1991 มีการเปิดตัวเว็บไซต์สำหรับการซื้อขายออนไลน์ของอเมริกันบริษัทฯ แต่ยังไม่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานในระยะแรก เนื่องจากยังไม่มีความปลอดภัยในการชำระเงินและการจัดส่งสินค้า จึงทำให้ผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต ในระยะต่อมาเมื่อเทคโนโลยีและความปลอดภัยของการทำธุรกรรมทางออนไลน์ได้รับการพัฒนามากขึ้น การทำธุรกรรม E-commerce ก็เริ่มได้รับความนิยมและเติบโตขึ้น โดยเฉพาะในปี 2000 ที่มีการเปิดตัวบริการชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต (Credit card) ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการเติบโตของธุรกิจ E-commerce ได้อย่างรวดเร็วในช่วงเวลานี้
ในปี 2023 มีการรวบรวมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ e-Commerce ที่น่าสนใจดังนี้
- Live chat: แชทคือองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่ม Conversion rates การตอบสนองจนถึงการดูแลหลังการขาย และยิ่งมี Chat Bot ให้เลือกมากมายยิ่งทำให้สะดวกยิ่งขึ้น
- Headless CMS: ระบบบริหารจัดการเนื้อหา CMS ที่สะดวกสบายมากขึ้น สนับสนุนช่องทางดิจิทัลหลากหลายช่องทางเช่น ทำเนื้อหาบน Web สามารถแสดงผลบน Smart TV และนาฬิกา Smart Watch
- Augmented reality: เทคโนโลยเสมือนจริงช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้น เช่นเมื่อเปิดกล้องหน้าสามารถทดสอบการสวมแว่นตาเสมือนจริงได้
- Virtual shopping: การผสมผสานเทคโนโลยีให้การซื้อสินค้าสะดวกมากขึ้นเช่น การใช้ VR การ Live ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย การปรับเปลี่ยนราคาสินค้าแบบทันท่วงที (Real time) เป็นต้น
- Livestream shopping: Social network ได้สร้างพฤติกรรมใหม่ในการซื้อสินค้า เช่น TikTok ให้ผู้ใช้สามารถ Live และ เลือกซื้อสินค้าได้ทันที
- Voice search: ด้วยเทคโนโลยี Speech to text ทำให้การใช้งานเสียงสะดวกสบายยิ่งขึ้น Google รายงานว่าผู้ใช้กว่า 27% ค้นหาข้อมูลด้วยเสียง
- eWallet technology: กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เช่น Google Wallet, Apple Pay หรืออย่าในไทยเช่น True Wallet ช่วยให้การชำระเงินสะดวก ปลอดภัย นอกจากนั้นยังปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมผู้ใช้งาน
- AI image generators: การให้ AI ช่วยสร้างภาพตามข้อความ (Prompt) สร้างภาพเพิ่มเติม ลูกเล่นเมื่อใช้งานการประชุมผ่านวิดีโอ เหล่านี้เป็รเพียงส่วนหนึ่งที่ AI ช่วยให้ทำให้ภาพน่าสนใจยิ่งขึ้น
- Enterprise resource planning solutions (ERP): เนื่องจากระบบการขาย เป็นส่วนหนึ่งระบบบริหารทรัพยากรองค์กรที่มีโมดูลย่อยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ระบบบัญชี ระบบควบคุมการผลิต ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นต้น และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ระบบ ERP สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
- The metaverse: ในอนาคตโลกเสมือนจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจ รวมทั้งระบบ E-Commerce มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่หลากหลายยิ่งขึ้น
ดังนั้นคำศัพท์ที่เกิดใหม่เช่น “MarErce” คือการนำมาร์เทค (MarTech) เทคโนโลยด้านการตลาดดิจิทัลผสมผสานเข้ากับ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ที่ช่วยทำให้เกิดออเดอร์ เกิดการซื้อขาย เเละเมื่อเกิดการขายแล้วมีการวนกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง ตัวอย่างเช่น
- การใช้ข้อมูลลูกค้า (Customer Data) – การเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เช่น แบบสอบถาม, บัญชีผู้ใช้, การสั่งซื้อและการใช้บริการ และนำมาวิเคราะห์เพื่อเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า เพื่อปรับแต่งการตลาดให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน และเพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าหรือบริการ
- การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลลูกค้า (Data validation) – การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลลูกค้าก่อนที่จะถูกนำมาใช้ในการตลาดหรือการขายสินค้า โดย MarTech จะช่วยตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลลูกค้าให้ถูกต้องและสมบูรณ์ เช่น การตรวจสอบที่อยู่จัดส่ง การตรวจสอบเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และอื่นๆ
- การใช้โฆษณาแบบกำหนดเอง (Programmatic advertising) – การใช้ MarTech เพื่อกำหนดกลยุทธ์โฆษณาแบบกำหนดเอง ซึ่งสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้จากข้อมูลลูกค้า และนำโฆษณาไปแสดงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
- การปรับแต่งให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล (Personalization) – การใช้ MarTech เพื่อปรับแต่งประสบการณ์ลูกค้าให้เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของลูกค้า โดยการใช้ข้อมูลลูกค้าที่ได้รับมาจากการเก็บรวบรวม เช่น การซื้อสินค้าในอดีต การเลือกสี หรือไซส์ เพื่อแนะนำสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของลูกค้า
- ประสบการณ์ไร้รอยต่อ (Seamless customer experience) – การทำให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องไม่ว่าจะใช้งานจากอุปกรณ์อะไร ที่ไหน เวลาไหน เช่น การเลือกซื้อสินค้าใส่ตะร้าบนคอมพิวเตอร์ช่วงค่ำ วัดถัดมาสามารถระบสถานที่จัดส่งและชำระค่าสินค้าบนสมาร์ทโฟนระหว่างการเดินทางได้
- การวิเคราะห์การสั่งซื้อ (Order) – ใช้ในการวิเคราะห์ตั้งแต่พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า การเลือกสินค้าใส่ตะกร้า การเปลี่ยนแปลงสินค้า การยกเลิก และการสั่งซื้อที่สมบูรณ์เป็นต้น นอกจากนั้นสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานของระบบได้อีกด้วย
เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างผู้ขายจะเข้าถึงลูกค้าได้แม่นยำขึ้น ลูกค้าเองก็สามารเลือกซื้อสินค้าได้ตรงความต้องการมากขึ้น และในอีกนัยหนึ่งเราจะเห็นการแข่งขันผู้เล่นรายใหม่มากยิ่งขึ้น
อ้างอิง รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Martech @robertocortese