CBDC ย่อมาจากคำว่า Central Bank Digital Currency ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ โดย CBDC จะมีความแตกต่างจากสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ เช่น Bitcoin หรือ Ethereum ซึ่งไม่ได้ถูกออกโดยหน่วยงานของรัฐหรือธนาคารกลาง แต่จะมีการสนับสนุนและควบคุมจากธนาคารกลาง ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นและเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของประเทศได้ดีขึ้น โดย CBDC จะถูกออกในรูปแบบดิจิทัลและสามารถใช้ในการชำระเงินและซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆได้ ในประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน (Wholesale CBDC) และสำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชน (Retail CBDC) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ในประเทศไทย CBDC เกิดจากโครงการโครงการอินทนนท์ที่ ริเริ่มขึ้นในปี 2561 เพื่อพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง สำหรับใช้โอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน (Wholesale Central Bank Digital Currency: Wholesale CBDC) โดย ธปท. ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง นำเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์หรือ Distributed Ledger Technology (DLT) มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในกิจกรรมดังกล่าว จากจุดเริ่มต้นของโครงการอินทนนท์ถือเป็นรากฐานสำคัญในการต่อยอดการพัฒนา CBDC ในปัจจุบัน
อนาคตของ CBDC มีแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาและใช้งานมากขึ้น เนื่องจากสามารถช่วยในการลดความเสี่ยงในการทำธุรกรรมทางการเงินและเพิ่มความเชื่อถือในระบบการเงินได้ นอกจากนี้ CBDC ยังมีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพในการโอนเงินระหว่างประเทศและลดความซับซ้อนในการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้เงินและชำระเงินสำหรับประชาชนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต และยังช่วยลดความเสี่ยงในการฝ่าฝืนกฎหมายและการทำธุรกรรมที่ไม่เหมาะสมได้อีกด้วย และอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีในการพัฒนาระบบการเงินให้เป็นไปอย่างยั่งยืนและปลอดภัยขึ้น โดยจะเห็นได้ชัดเจนในปีหรือสองปีข้างหน้านี้ เนื่องจากหลายประเทศกำลังสนใจและเริ่มทำการวิจัยและพัฒนา CBDC ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
Cr: www.exim.go.th